ปรับการวางแผนทางการเงินอย่างไร ในสภาวะเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 13 ปี พุ่ง 5.28%

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผย ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป   (เงินเฟ้อทั่วไป) ของประเทศไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สูงขึ้นร้อยละ 5.28 มาจากสินค้าในกลุ่มพลังงาน และสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ที่ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต เป็นอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 13 ปี นับตั้งแต่เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย
ในสภาวะที่ของกินของใช้ต่างพากันขึ้นราคาเช่นนี้ แต่ดูเหมือนจะสวนทางกับรายได้ที่ยังคงเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นตามในอัตราที่เล็กน้อย แน่นอนว่ามการมีรายได้ทางเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป จำเป็นต้องมองหารายได้เสริม เพื่อที่จะตอบสนอง ประคับประคองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และเพื่อให้มีมากพอที่จะนำไปใช้ในส่วนของการเก็บออม หรือลงทุนเพื่องสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองและครอบครัวในอนาคต

🤨”เงินเฟ้อ”คืออะไร🤨
“เงินเฟ้อ” เป็นสภาวะที่เงินด้อยค่าลง หรือ พูดง่ายๆ คือ เป็นสภาวะที่ทำให้เราจนลงนั้นเอง
Then 10 ปี ก่อน เงิน 100 บาท ซื้อของได้ 5 ชิ้น
Now ————>เงิน 100 บาท ซื้อของได้ 2 ชิ้น
เงินยังคงเท่าเดิม แต่พลังในการซื้อของคุณลดลง ในมุมกลับกันคือต้องใช้เงินในจำนวนที่มากขึ้น
Then 10 ปี ก่อน ทองคำ 1 บาท มูลค่า ~4,000 บาท
Now————>ทองคำ 1 บาท มูลค่า ~30,00 บาท

เงินเฟ้อเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตลอดเวลาอยู่แล้ว โดยเฉลี่ยประมาณ ~2% แล้วแต่สถานการณ์ในแต่ละปีที่อาจจะเพิ่มมากขึ้น หรือลดต่ำลงเป็นไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจสังคม ซึ่งจะส่งผลกระทบกับคนที่ถือเงินสดจำนวนเยอะๆ ยิ่งเงินเฟ้อเยอะ คุณก็จะยิ่งจนลงมาก เนื่องจากมูลค่าของเงินจะลดลง ตัวอย่างที่ชัดเจน เช่น ประเทศเวเนซูเอล่าที่เจอสภาพเงินเฟ้อในประเทศที่รุนแรงที่สุดในโลก สภาพเงินเฟ้อกว่า 5000% สะท้อนภาพให้เห็นว่าเงินสดแทบไม่มีค่าเลย เป็นต้น

🤼‍♀️เราจะสู้กับเงินเฟ้อได้อย่างไร🤼‍♀️

Hedge Against inflation
Hedging คือ “ป้องกันความเสี่ยง” เป็นวิธีการที่ใช้ในตลาดการเงิน นักลงทุนจะลดความเสี่ยงโดยนำ”เงินสด”ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเท่ากับหรือมากว่าอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น เพื่อชดเชยมูลค่าเงินสดที่ลดลง หากอ้างอิงจากพีรมิดทางการเงิน
-ลำดับพื้นฐานก็คือการปกป้องความเสี่ยง คือ”การทำประกัน” ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบประกันชีวิต สุขภาพ อุบัติเหตุ บ้าน รถ ต่างๆ ถือเป็นการโอนย้ายความเสี่ยง จากตัวเรา ไปยังบริษัทที่รับทำประกัน โดยเราจะยอมเสียเบี้ยประกันจำนวนหนึ่ง แต่หากเกิดภัยหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นตามข้อตกลง เราก็จะได้รับเงินจำนวนที่มากพอในการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้
-ลำดับต่อมาของพีรมิดทางการเงิน คือ การออมเพื่อเป้าหมายในระยะกลาง,ระยะยาว รวมไปถึงการลงทุนเพื่อสะสมความมั่งคั่งและการส่งต่อมรดกไปยังลูกหลาน ในการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อลำดับนี้ นักลงทุนจำเป็นต้องมองหาเครื่องมือหรือสินทรัพย์ลงทุนต่างๆ ที่จะรักษามูลค่า”เงินสด”ได้ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ กองทุนรวม หุ้น คริปโตเคอเรนซี ทองคำ น้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่มากกว่าหรือเท่ากับอัตราเงินเฟ้อ เพื่อรักษามูลค่าของเงินนั้นไว้ไม่ให้ด้อยค่าลง หรือด้อยค่าลงน้อยที่สุด และยังเป็นหนทางที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งและมั่งคั่งให้กับสุขภาพทางการเงินในอนาคต

ทั้งนี้ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแต่ละสินทรัพย์ที่ตนเองเลือกลงทุน การไม่ลงทุนเลยก็มีความเสี่ยงเช่นกันที่เงินสดในมือคุณจะลดมูลค่าลงเรื่อยๆ การลงทุนโดยขาดความรู้ความเข้าใจนั้นยิ่งเสี่ยง ค่อยๆศึกษา ค่อยๆเรียนรู้ เลือกสินทรัพย์ที่เหมาะกับตัวเอง เหมาะกับเป้าหมายของเราเอง แล้วเราก็จะมีความสุข สนุกกับการลงทุน และการจัดการเงินของเราเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สุขภาพการเงินของเราและครอบครัวเข้มแข็งและมั่งคั่งเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

Leave a Comment